วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2558

ประชาธิปไตร


ที่มา. https://youtu.be/uNlKB0wxq2w

ระบบเผด็จการ

   
  ระบอบเผด็จการ มีลักษณะเด่นอยู่ที่การรวมอำนาจการเมืองการปกครองไว้ที่บุคคลเพียงคนเดียวหรือคณะเดียวหรือพรรคเดียว โดยบุคคลหรือคณะบุคคลดังกล่าวสามารถใช้อำนาจนั้นควบคุมบังคับประชาชนได้โดยเด็ดขาด หากประชาชนคนใดคัดค้านผู้นำหรือคณะผู้นำก็จะถูกลงโทษให้ทำงานหนักหรือถูกจำคุก
          ระบอบเผด็จการมี 3 แบบ คือ 1.เผด็จการทหาร
                                                       2.เผด็จการฟาสซิสต์
                                                       3.เผด็จการคอมมิวนิสต์
1. ระบอบเผด็จการทหาร
                 ระบอบเผด็จการทหาร หมายถึง ระบอบเผด็จการที่คณะผู้นำฝ่ายทหารเป็นผู้ใช้อำนาจเผด็จการในการปกครองโดยตรงหรือโดยอ้อม (ผ่านทางพลเรือนที่พวกตนสนับสนุน) และมักจะใช้กฎอัยการศึกหรือรัฐธรรมนูญที่คณะของตนสร้างขึ้นเป็นเครื่องมือในการปกครอง โดยทั่วไปคณะผู้นำทหารมักจะใช้อำนาจเผด็จการปกครองประเทศเป็นการชั่วคราว ระหว่างที่ประเทศอยู่ในภาวะสงครามหรือหลังจากล้มเลิกระบอบประชาธิปไตย โดยมีเป้าหมายเพื่อขจัดภัยคุกคามบางอย่างต่อความมั่นคงของรัฐ ส่วนมากแล้วเมื่อเหตุการณ์ความวุ่นวายต่าง ๆ สงบลง คณะผู้นำทางทหารก็มักจะอ้างสาเหตุต่าง ๆ นานาเพื่อยึดอำนาจการปกครองประเทศต่อไปอีก ไม่ยอมที่จะคืนอำนาจกลับมาให้ประชาชนโดยง่าย ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสหภาพพม่าในปัจจุบันนี้เป็นต้น แต่ทว่าเมื่อเวลายิ่งผ่านเนิ่นนานออกไปกระแสความไม่พอใจในหมู่ประชาชนรวมทั้งแรงกดดันจากนานาชาติ ก็จะทำให้คณะผู้นำทางทหารกุมอำนาจการปกครองไว้ไม่ได้ ในที่สุดก็จำเป็นต้องคืนอำนาจให้ประชาน แต่กว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ ในบางประเทศก็เกิดความวุ่นวาย มีการต่อสู้ระหว่างกำลังของประชาชนกับกำลังของรัฐบาลเผด็จการทหาร ซึ่งจากประวัติศาสตร์การเรียกร้องสิทธิเสรีภาพในการปกครองที่ผ่านมา มักจะจบลงโดยชัยชนะเป็นของฝ่ายประชาชน เช่นเหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นที่โรมาเนีย ฟิลิปปินส์ เป็นต้น ตัวอย่างของการปกครองแบบเผด็จการทหาร เช่น การปกครองของญี่ปุ่นระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 อันเป็นระยะที่พลเอกโตโจและคณะนายทหารใช้อำนาจเผด็จการในการปกครอง หรือการปกครองของไทยระหว่างที่ไม่มีรัฐธรรมนูญ ในระหว่างวันที่ 20 ตุลาคม 2501 ถึงวันที่ 20 มิถุนายน 2511 อำนาจการปกครองประเทศตกอยู่ภายใต้การควบคุมของคณะปฏิวัติ ซึ่งนำโดย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และจอมพลถนอม กิตติขจร ส่วนในปัจจุบัน(พ.ศ. 2541) ก็มี เช่น การปกครองของสหภาพพม่าภายใต้การนำของพลเอกตาน ส่วย เป็นต้น
2. ระบอบเผด็จการฟาสซิสต์
                        ระบอบเผด็จการฟาสซิสต์ หมายถึง ระบอบเผด็จการที่ผู้นำคนหนึ่งซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มนักธุรกิจและกองทัพให้ใช้อำนาจเผด็จการปกครองประเทศ ผู้นำในระบอบการปกครองเผด็จการฟาสซิสต์มักจะมีลัทธิการเมืองที่เรียกกันว่า ลัทธิฟาสซิสต์ เป็นลัทธิชี้นำในการปกครองและมุ่งที่จะใช้อำนาจเผด็จการปกครองประเทศเป็นการถาวร โดยเชื่อว่าระบอบการปกครองแบบนี้เหมาะสมกับประเทศของตน และจะช่วยให้ประเทศของตนมีความเจริญก้าวหน้าโดยเร็ว ตัวอย่างของการปกครองระบอบเผด็จการฟาสซิสต์ เช่น การปกครองของอิตาลีสมัยมุสโสลินีเป็นผู้นำ ระหว่าง พ.ศ. 2473 – 2486 การปกครองของเยอรมนีสมัยฮิตเลอร์เป็นผู้นำ ระหว่าง พ.ศ. 2476 – 2488 หรือการปกครองของสเปนสมัยจอมพลฟรังโกเป็นผู้นำระหว่าง
พ.ศ. 2480 – 2518 เป็นต้น

3. ระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์
                 ระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์ หมายถึง ระบอบเผด็จการที่พรรคคอมมิวนิสต์เพียงพรรคเดียวได้รับการยอมรับ หรือสนับสนุนจากกลุ่มบุคคลต่าง ๆ และกองทัพให้เป็นผู้ใช้อำนาจเผด็จการปกครองประเทศ คณะผู้นำของพรรคคอมมิวนิสต์เชื่อว่า ระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์เป็นรูปแบบการปกครองที่เหมาะสมกับประเทศของตน และจะช่วยทำให้ชนชั้นกรรมาชีพเป็นอิสระจากการถูกกดขี่โดยชนชั้นนายทุน รวมทั้งทำให้ประเทศมีความเจริญก้าวหน้าและเข้มแข็งทัดเทียมกับต่างประเทศได้เร็วกว่าระบอบการปกครองแบบอื่น ระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์มีความแตกต่างจากระบอบเผด็จการทหารอยู่ข้อหนึ่งที่สำคัญ คือ ระบอบเผด็จการทหารจะควบคุมเฉพาะกิจกรรมทางการเมืองของประชาชนเท่านั้น แต่ระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์จะใช้อำนาจเผด็จการควบคุมกิจกรรมละการดำเนินชีวิตของประชาชนในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง การปกครอง ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม ด้วยเหตุนี้นักรัฐศาสตร์จึงเรียกระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์อีกอย่างหนึ่งว่า ระบอบเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จ
หลักการของระบอบเผด็จการ
          1. ผู้นำคนเดียวหรือคณะผู้นำของกองทัพ หรือของพรรคการเมืองเพียงกลุ่มเดียวมีอำนาจสูงสุด และสามารถใช้
อำนาจนั้นได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องฟังเสียงคนส่วนใหญ่ในประเทศ
          2. การรักษาความมั่นคงของผู้นำหรือคณะผู้นำ มีความสำคัญกว่าการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ประชาชนไม่สามารถที่จะวิพากษ์วิจารณ์การกระทำของผู้นำอย่างเปิดเผยได้
          3. ผู้นำหรือคณะผู้นำสามารถที่จะอยู่ในอำนาจได้ตลอดชีวิต หรือนานเท่าที่กลุ่มผู้ร่วมงานหรือกองทัพยังให้การสนับสนุน ประชาชนทั่วไปไม่มีสิทธิที่จะเปลี่ยนผู้นำได้โดยวิถีทางรัฐธรรมนูญ
          4. รัฐธรรมนูญและการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนที่จัดขึ้นตามรัฐธรรมนูญและรัฐสภา ไม่มีความสำคัญต่อกระบวนการทางการปกครองเหมือนในระบอบประชาธิปไตย กล่าวคือ รัฐธรรมนูญเป็นแต่เพียงรากฐานรองรับอำนาจของผู้นำหรือคณะผู้นำเท่านั้น ส่วนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนที่จัดขึ้นก็เพื่อให้ประชาชนออกเสียงเลือกตั้งผู้สมัครที่ผู้นำหรือคณะผู้นำส่งเข้าสมัครรับเลือกตั้งเท่านั้น ในทำนองเดียวกัน รัฐสภาก็จะประชุมกันปีละ 5 – 10 วัน เพื่อรับทราบและยืนยันให้ผู้นำหรือคณะผู้นำทำการปกครองต่อไป ตามที่ผู้นำหรือคณะผู้นำเห็นสมควร

          
ข้อดีและข้อเสีย ของระบอบเผด็จการ

          
ข้อดีของระบอบเผด็จการ ได้แก่
          1. รัฐบาลสามารถตัดสินใจทำการอย่างใดอย่างหนึ่งได้รวดเร็วกว่ารัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย เช่น สามารถออกกฎหมายมาใช้บังคับเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งได้ โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากเสียงข้างมากในรัฐสภา ทั้งนี้ก็เพราะผู้นำหรือคณะรัฐมนตรีมักจะได้รับมอบอำนาจจากรัฐสภาไว้ล่วงหน้าให้ออกกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับบางอย่างได้เอง
          2. แก้ปัญหาบางอย่างได้อย่างมีประสิทธิผลกว่าระบอบประชาธิปไตย เช่น สั่งการปราบการจลาจล การก่ออาชญากรรม และการก่อการร้ายต่าง ๆ ได้อย่างเฉียบขาดมากกว่า โดยไม่จำต้องเกรงว่าจะเกินอำนาจที่กฎหมายให้ไว้ เนื่องจากศาลในระบอบเผด็จการไม่ได้มีความเป็นอิสระในการพิจารณาคดีเหมือนในระบอบประชาธิปไตย

          
ข้อเสียของระบอบเผด็จการ ได้แก่ 
          1. เป็นการปกครองโดยบุคคลคนเดียวหรือกลุ่มเดียว ซึ่งย่อมจะมีการผิดพลาดและใช้อำนาจเพื่อประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้องได้โดยไม่มีใครรู้หรือกล้าคัดค้าน
          2. มีการใช้อำนาจเผด็จการกดขี่และลิดรอนสิทธิเสรีภาพ รวมทั้งประทุษร้ายต่อชีวิตของคนหรือกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับกลุ่มผู้ปกครอง
          3. ทำให้คนดีมีความสามารถที่ไม่ใช่พวกพ้อง หรือผู้สนับสนุนกลุ่มผู้ปกครองไม่มีโอกาสดำรงตำแหน่งสำคัญในทางการเมือง
          4. ประชาชนส่วนใหญ่ที่ถูกกดขี่และขาดสิทธิเสรีภาพ ย่อมจะไม่สนับสนุนนโยบายของรัฐบาลอย่างเต็มที่และอาจพยายามต่อต้านอยู่เงียบ ๆ หรือมิฉะนั้นบางคนก็อาจจะหลบหนีไปอยู่ต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่บุคคลเหล่านี้มักจะเป็นพวกปัญญาชน ทำให้ประเทศชาติขาดแคลนทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ
          5. อาจนำประเทศชาติไปสู่ความพินาศได้ เหมือนดังฮิตเลอร์ได้นำประเทศเยอรมนี หรือพลเอกโตโจได้นำประเทศญี่ปุ่นเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งผลปรากฏว่าทั้งสองประเทศประสบความพินาศอย่างย่อยยับ หรือตัวอย่างเหตุการณ์ที่ประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน เห่งอิรัค ได้ส่งกำลังทหารเข้ายึดครองประเทศคูเวต และไม่ยอมถอนตัวออกไปตามมติขององค์การสหประชาชาติ จนกองกำลังนานาชาติต้องเปิดฉากทำสงครามกับอิรักเพื่อปลดปล่อยคูเวต และผลสุดท้ายอิรักก็เป็นฝ่ายปราชัยอย่างย่อยยับ ทำให้ประชาชนชาวอิรักต้องประสบความเดือดร้อนอย่างแสนสาหัสเสียทั้งทรัพย์สินและชีวิต การพัฒนาประเทศหยุดชะงัก ทั้งนี้เป็นเพราะการตัดสินใจผิดพลาดของผู้นำเพียงคนเดียว
          เนื่องจากระบอบประชาธิปไตยและระบอบเผด็จการต่างก็มีข้อดีและข้อเสียดังกล่าว จึงทำให้ชนชั้นนำและประชาชนจำนวนหนึ่งในประเทศต่างๆ เลือกใช้ระบอบการปกครองที่พวกตนคิดว่าเหมาะสมกับประเทศของตนในขณะนั้น และสามารถช่วยแก้ปัญหาทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมในประเทศของตนตามแนวทางที่พวกตนเชื่อได้ ดังจะเห็นได้ว่า ในระยะตั้งแต่สิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา บางประเทศได้เปลี่ยนแปลงการปกครองของตนจากระบอบเผด็จการมาเป็นระบอบประชาธิปไตย เช่น เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น โปรตุเกส สเปน เป็นต้น ส่วนบางประเทศก็เปลี่ยนจากระบอบประชาธิปไตยมาเป็นระบอบเผด็จการทหาร เช่น พม่า นิการากัว เอธิโอเปีย เป็นต้น ในทำนองเดียวกัน บางประเทศก็เปลี่ยนจากระบอบเผด็จการฟาสซิสต์หรือเผด็จการทหารเป็นระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์ เช่น เกาหลีเหนือ เป็นต้น

ที่มา http://www.school.net.th/schoolnet

วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558

การปกครองแบบประชาธิปไตย

ความหมายของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย

หมายถึงระบอบการปกครองที่อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ โดยอาศัยหลักการของการแบ่งแยกอำนาจ และหลักการที่ว่าด้วยความถูกต้องแห่งกฎหมาย ผู้ปกครองประเทศที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน เป็นเพียงตัวแทนที่ได้รับมอบอำนาจให้ใช้อำนาจอธิปไตยแทนประชาชน

รัฐสภา(ตัวแทนประชาชน)มีอำนาจถ่วงดุลกับฝ่ายบริหาร การแบ่งแยกอำนาจช่วยให้ควบคุมซึ่งกันและกัน ประชาชนจึงมีเสรีภาพมากขึ้นไม่ถูกบังคับความถูกต้องแห่งกฎหมาย ทำให้ประชาชนสามารถโต้แย้งคัดค้านการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐได้ การปกครองแบบประชาธิปไตย มีหลักเกณฑ์ขั้นต่ำ 3 ประการคือ
  • ผู้ปกครองจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ใต้ปกครอง
  • ผู้ใต้ปกครองจะต้องมีสิทธิเปลี่ยนตัวผู้ปกครองได้เป็นครั้งคราว
  • สิทธิมนุษยชนขั้นมูลฐานของประชาชนจะต้องได้รับการคุ้มครอง
องค์ประกอบของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย เลือกตั้ง , หลักการแบ่งแยกอำนาจ , หลักความถูกต้องแห่งกฎหมาย การเลือกตั้งคือพื้นฐานสำคัญของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งทำทำให้เกิดสถาบันการเมือง คือ พรรคการเมืองขึ้น

รุสโซ กล่าวว่า อำนาจอธิปไตยหรืออำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของประชาชน(จาก สัญญาประชาคม) แต่ด้วยประชาชนมีจำนวนมากไม่สามารถมีส่วนร่วมได้อย่างทั่วถึง จึงเกิดวิธีการ มอบอำนาจ ขึ้นซึ่งก็คือการเลือกผู้แทนของตน เข้าไปทำหน้าที่ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ตามที่ตนต้องการ การเลือกตั้ง ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
  • อิสระแห่งการเลือกตั้ง = โดยเสรี ไม่มีการบังคับ จ้างวาน / เลือกตั้งตามกำหนดเวลา = กำหนดสมัยแน่นอน ไม่ห่างเกินไป / ประชาชนควบคุมดูแลผู้แทนของตนได้ / เลือกตั้งอย่างแท้จริง = ไม่โกง ให้ราษฎรมีส่วนร่วมการจัดการ คัดค้านการทุจริตได้ /
  • ออกเสียงโดยทั่วไป = ประชาชนมีโอกาสใช้สิทธิอย่างทั่วถึง / เลือกตั้งอย่างเสมอภาค = ทุกเสียงมีค่าเท่ากัน
  • ลงคะแนนลับ = มิให้ผู้อื่นได้รู้ว่าลงคะแนนอย่างไร เพื่อป้องกันการบังคับ
รูปแบบการเลือกตั้ง เลือกตั้งโดยตรง(ผู้เลือกตั้งเลือกผู้แทนของตนโดยตรง)เลือกตั้งโดยอ้อม(เลือกบุคคลไปเลือกผู้แทน)
  • ข้อดี เลือกตั้งโดยตรง : ได้ผู้แทนตามเจตจำนง, ผู้แทนใกล้ชิดประชาชน, ยากแก่การใช้อิทธิพล, ผู้แทนปฏิบัติงานอย่างมั่นใจ
  • ข้อเสีย เลือกตั้งโดยตรง : เขตเลือกตั้งใหญ่, ประชาชนรู้จักผู้สมัครไม่ทั่วถึง
  • ข้อดี เลือกตั้งโดยอ้อม : เลือกตั้งได้ง่าย, เลือกผู้มีความสามารถก่อนที่จะไปเลือกผู้แทนอีกครั้ง, เหมาะกับที่ที่ไม่มีการศึกษา ข้อเสีย เลือกตั้งโดยอ้อม : ทุจริตได้ง่าย, คนกลางมีอำนาจ, ดูถูกว่าราษฎรโง่ทำให้ไม่สนใจการเลือกตั้ง, ต้องเลือกตั้ง 2 ครั้ง เลือกตั้งแบบรวมเขต(ถือเอาจังหวัดหนึ่งเป็น1เขต)เลือกตั้งแบบแบ่งเขต(ในจังหวัดหนึ่งแบ่งเป็นเขตๆ)
    - หลักการแบ่งแยกอำนาจ มองเตสกิเออ อธิบายใน “เจตนารมณ์ของกฎหมาย” ว่าอำนาจอธิปไตยประกอบด้วยอำนาจ 3 อำนาจ คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ หากอำนาจทั้ง 3 รวมอยู่ที่องค์กรเดียวเสรีภาพของประชาชนจะไม่เกิด
    - หลักการที่ว่าด้วยความถูกต้องตามกฎหมาย หมายถึง ผู้มีอำนาจปกครองจะใช้อำนาจปกครองจามอำเภอใจไม่ได้ การใช้อำนาจปกครองจะต้องสอดคล้องถูกต้องกับกฎหมายทั้งหลายที่ใช้บังคับอยู่
รูปแบบของรัฐบาลในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย มี 2 แบบ คือ แบบรัฐสภา ,แบบประธานาธิบดี(มีการเพิ่มแบบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดีเข้ามาในช่วงหลัง)
  • แบบรัฐสภา ฝ่ายบริหารแยกเป็น 2 องค์กร คือ องค์กรประมุขของรัฐ ,องค์กรคณะรัฐมนตรีองค์กรประมุขของรัฐ อาจเป็นกษัตริย์ (ส่วนใหญ่เป็นสังคมอนุรักษ์นิยม)หรือประธานาธิบดีก็ได้(สังคมเสรีนิยม) องค์กรคณะรัฐมนตรี หรือรัฐบาล มีความรับผิดชอบทางการเมืองต่อรัฐสภา หากรัฐสภาไม่ไว้วางใจก็ต้องลาออก วิธีการที่รัฐสภาไม่ไว้วางใจคณะรัฐบาล เช่น การอภิปรายไม่ไว้วางใจ , การไม่ผ่านร่างงบประมาณประจำปี , ไม่ผ่าน ก.ม สำคัญ ส่วนฝ่ายคณะรัฐมนตรีก็สามารถยุบสภาได้ ทำให้เกิดดุลแห่งอำนาจขึ้น (ในที่สุดประชาชนก็จะเลือกตั้งใหม่)
  • แบบประธานาธิบดี ประธานาธิบดี จะเป็นทั้งประมุขของรัฐ ,หัวหน้าคณะรัฐมนตรี องค์กรคณะรัฐมนตรีเป็นเพียงที่ปรึกษาให้คำแนะนำ สิทธิขาดอยู่ที่ประธานาธิบดี (คัดค้าน 7 เสียง เห็นด้วย 1 เสียง 1 เสียงชนะ)
ระบอบการปกครองแบบเผด็จการ 
ระบอบการปกครองแบบเผด็จการมีความหมาย 2 นัย คือ 1.ระบอบการปกครองชั่วคราวที่มีวัตถุประสงค์จะปกปักษ์รักษาระบบเดิมเอาไว้ 2. ระบบที่รัฐบาลไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน

ระบอบการปกครองแบบเผด็จการของประเทศที่มีระบบเศรษฐ์กิจแบบทุนนิยม 
การปกครองแบบเผด็จการมักเกิดขึ้นเมื่อสังคมเกิดวิกฤติการณ์ ทำให้ผู้มีอำนาจจำเป็นต้องใช้วิธีการแบบเผด็จการ ทั้งนี้เพื่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง การปกครองแบบเผด็จการมักเกิดขึ้นเมื่อเกิดวิกฤติการณ์เกี่ยวกับความชอบธรรมของอำนาจปกครอง เมื่อใดประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับอำนาจปกครองขณะนั้น ก็จะพยายามไม่ทำตามการปกครองนั้น จนในที่สุดผู้มีอำนาจปกครองเป็นต้องใช้อำนาจปกครองแบบเผด็จการขึ้น

สถาบันการเมืองของระบอบการปกครองแบบเผด็จการ ที่สนับสนุนคือ ทหาร และพรรคการเมืองพรรคเดียววิธีการที่ทำให้ประชาชนยอมรับอำนาจปกครองแบบเผด็จการ คือ การปราบปรามผู้โต้แย้ง ,การโฆษณาชวนเชื่อการปราบปรามผู้โต้แย้ง เช่นการจับกุมคุมขัง การส่งตัวไปค่ายกักกัน การทรมาน การประหารชีวิต กลไกที่ใช้คือ ก.ม. ศาล ตำรวจรูปแบบของการปกครองแบบเผด็จการในระบบทุนนิยม มีแบบระบบการปกครองแบบเผด็จการเกิดขึ้นเมื่อสังคมของประเทศเกิดวิกฤติการณ์ ร้ายแรง เช่น วิกฤติการณ์ทางสังคม (โครงสร้างสังคมเปลี่ยนเกิดความสับสน จึงเกิดการปกครองแบบเผด็จการขึ้น เพื่อความสงบสุขของบ้านเมือง) วิกฤติการณ์เกี่ยวกับความชอบธรรมแห่งอำนาจปกครอง(เกิดเมื่อประชาชนเห็นว่ารัฐบาลไม่มีความชอบธรรมแห่งอำนาจประชาชนเริ่มไม่ให้ความร่วมมือ ในที่สุดก็ต้องใช้การปกครองแบบเผด็จการ)

การสร้างความชอบธรรมแห่งอำนาจปกครองเผด็จการแบบปฏิวัติ ผู้เผด็จการจะพยายามสร้างความชอบธรรมโดยการบังคับเผด็จการแบบปฏิรูป โดยอ้างถึงอุดมการณ์ทางการเมืองแบบใหม่ สถาบันการเมืองของระบบการปกครองแบบเผด็จการ จะมี 2 ส่วนใหญ่ คือ ทหาร และ พรรคการเมือง(พรรคเดียว)วิธีการที่ทำให้ประชาชนยอมรับอำนาจการปกครองแบบเผด็จการคือ
  1. การปราบปราม โดยใช้วิธีการกำจัดฝ่ายที่คัดค้านโต้แย้งอำนาจเผด็จการ วิธีการต่างๆที่ใช้ปราบปราม คือ การจับกุมคุมขัง การส่งตัวไปค่ายกักกัน การทรมาน และการประหารชีวิต กลไกที่ใช้ปราบปรามได้แก่ กฎหมาย ศาล ตำรวจ และกลไกที่ได้ผลเด็ดขาด คือการสร้าง ตำรวจลับ ขึ้น โดยจะจัดการกับผู้ต่อต้านโดยไม่มีการพิจารณาคดีตามปกติ
  2. การโฆษณาชวนเชื่อ เพื่อจูงใจประชาชนให้ยอมรับอำนาจเผด็จการ
  • รูปแบบการปกครองแบบเผด็จการในระบบทุนนิยม “ฟาสซิสม์” 
    ฟาสซิสม์ เป็นการปกครองแบบเผด็จการของประเทศอุตสาหกรรม การปกครองที่มีพรรคการเมืองพรรคเดียว การปกครองที่จัดให้มีการโฆษณาชวนเชื่อในรูปแบบทันสมัย พื้นฐานอันแท้จริงของเผด็จการแบบฟาสซิสม์ คือ แนวความคิดแบบอนุรักษ์นิยม สถาบันการเมืองของเผด็จการแบบฟาสซิสม์ ได้แก่ พรรคการเมืองพรรคเดียว การจัดตั้งสมาคมอาชีพ การโฆษณาชวนเชื่อ การปราบปรามฝ่ายตรงข้าม

    ระบอบการปกครองแบบเผด็จการของประเทศที่มีระบบเศรษฐ์กิจแบบสังคมนิยม 
    ประเทศสังคมนิยม ยึดถือโครงสร้างในการผลิตเป็นพื้นฐานสำคัญของสังคม โดยถือว่า เครื่องมือในการผลิตเป็นของส่วนรวม นอกจากนี้ยังยึดถืออุดมการณ์เป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญยิ่ง เพราะอุดมการณ์เป็นความนึกคิดที่มีเหตุผลในทางวิทยาศาสตร์ และเป็นจุดเริ่มต้นของโครงสร้างการผลิต นอกจากนี้ยังยอมรับอุดมการณ์อย่างอื่นด้วย เช่น อุดมการณ์แบบธรรมเนียมประเพณีอุดมการณ์ทางการเมือง เป็นต้น
การใช้อำนาจเผด็จการแบบปฏิวัติมีลักษณะ 2 ประการคือ
  • การใช้อำนาจเผด็จการแบบชั่วคราวที่คณะปฏิวัติจะทำหน้าที่เสมือนหนึ่งผู้พิทักษ์หรือผู้อนุบาล
  • มุ่งกล่อมเกลา เปลี่ยนแปลงทัศนคติของประชาชนเพื่อให้ประชาชนสามารถใช้เสรีภาพและการดำรงชีวิตโดยไม่ต้องอาศัยเผด็จการ ลักษณะสำคัญของรัฐธรรมนูญของประเทศเผด็จการสังคมนิยม คือ การเลือกตั้งแบบหยั่งเสียง คือการเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ