ที่มา. https://youtu.be/uNlKB0wxq2w
วันอังคารที่ 8 กันยายน พ.ศ. 2558
ระบบเผด็จการ
ระบอบเผด็จการ มีลักษณะเด่นอยู่ที่การรวมอำนาจการเมืองการปกครองไว้ที่บุคคลเพียงคนเดียวหรือคณะเดียวหรือพรรคเดียว โดยบุคคลหรือคณะบุคคลดังกล่าวสามารถใช้อำนาจนั้นควบคุมบังคับประชาชนได้โดยเด็ดขาด หากประชาชนคนใดคัดค้านผู้นำหรือคณะผู้นำก็จะถูกลงโทษให้ทำงานหนักหรือถูกจำคุก
ระบอบเผด็จการมี 3 แบบ คือ 1.เผด็จการทหาร
2.เผด็จการฟาสซิสต์
3.เผด็จการคอมมิวนิสต์
1. ระบอบเผด็จการทหาร
ระบอบเผด็จการทหาร หมายถึง ระบอบเผด็จการที่คณะผู้นำฝ่ายทหารเป็นผู้ใช้อำนาจเผด็จการในการปกครองโดยตรงหรือโดยอ้อม (ผ่านทางพลเรือนที่พวกตนสนับสนุน) และมักจะใช้กฎอัยการศึกหรือรัฐธรรมนูญที่คณะของตนสร้างขึ้นเป็นเครื่องมือในการปกครอง โดยทั่วไปคณะผู้นำทหารมักจะใช้อำนาจเผด็จการปกครองประเทศเป็นการชั่วคราว ระหว่างที่ประเทศอยู่ในภาวะสงครามหรือหลังจากล้มเลิกระบอบประชาธิปไตย โดยมีเป้าหมายเพื่อขจัดภัยคุกคามบางอย่างต่อความมั่นคงของรัฐ ส่วนมากแล้วเมื่อเหตุการณ์ความวุ่นวายต่าง ๆ สงบลง คณะผู้นำทางทหารก็มักจะอ้างสาเหตุต่าง ๆ นานาเพื่อยึดอำนาจการปกครองประเทศต่อไปอีก ไม่ยอมที่จะคืนอำนาจกลับมาให้ประชาชนโดยง่าย ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสหภาพพม่าในปัจจุบันนี้เป็นต้น แต่ทว่าเมื่อเวลายิ่งผ่านเนิ่นนานออกไปกระแสความไม่พอใจในหมู่ประชาชนรวมทั้งแรงกดดันจากนานาชาติ ก็จะทำให้คณะผู้นำทางทหารกุมอำนาจการปกครองไว้ไม่ได้ ในที่สุดก็จำเป็นต้องคืนอำนาจให้ประชาน แต่กว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ ในบางประเทศก็เกิดความวุ่นวาย มีการต่อสู้ระหว่างกำลังของประชาชนกับกำลังของรัฐบาลเผด็จการทหาร ซึ่งจากประวัติศาสตร์การเรียกร้องสิทธิเสรีภาพในการปกครองที่ผ่านมา มักจะจบลงโดยชัยชนะเป็นของฝ่ายประชาชน เช่นเหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นที่โรมาเนีย ฟิลิปปินส์ เป็นต้น ตัวอย่างของการปกครองแบบเผด็จการทหาร เช่น การปกครองของญี่ปุ่นระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 อันเป็นระยะที่พลเอกโตโจและคณะนายทหารใช้อำนาจเผด็จการในการปกครอง หรือการปกครองของไทยระหว่างที่ไม่มีรัฐธรรมนูญ ในระหว่างวันที่ 20 ตุลาคม 2501 ถึงวันที่ 20 มิถุนายน 2511 อำนาจการปกครองประเทศตกอยู่ภายใต้การควบคุมของคณะปฏิวัติ ซึ่งนำโดย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และจอมพลถนอม กิตติขจร ส่วนในปัจจุบัน(พ.ศ. 2541) ก็มี เช่น การปกครองของสหภาพพม่าภายใต้การนำของพลเอกตาน ส่วย เป็นต้น
2.เผด็จการฟาสซิสต์
3.เผด็จการคอมมิวนิสต์
1. ระบอบเผด็จการทหาร
ระบอบเผด็จการทหาร หมายถึง ระบอบเผด็จการที่คณะผู้นำฝ่ายทหารเป็นผู้ใช้อำนาจเผด็จการในการปกครองโดยตรงหรือโดยอ้อม (ผ่านทางพลเรือนที่พวกตนสนับสนุน) และมักจะใช้กฎอัยการศึกหรือรัฐธรรมนูญที่คณะของตนสร้างขึ้นเป็นเครื่องมือในการปกครอง โดยทั่วไปคณะผู้นำทหารมักจะใช้อำนาจเผด็จการปกครองประเทศเป็นการชั่วคราว ระหว่างที่ประเทศอยู่ในภาวะสงครามหรือหลังจากล้มเลิกระบอบประชาธิปไตย โดยมีเป้าหมายเพื่อขจัดภัยคุกคามบางอย่างต่อความมั่นคงของรัฐ ส่วนมากแล้วเมื่อเหตุการณ์ความวุ่นวายต่าง ๆ สงบลง คณะผู้นำทางทหารก็มักจะอ้างสาเหตุต่าง ๆ นานาเพื่อยึดอำนาจการปกครองประเทศต่อไปอีก ไม่ยอมที่จะคืนอำนาจกลับมาให้ประชาชนโดยง่าย ดังเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นในสหภาพพม่าในปัจจุบันนี้เป็นต้น แต่ทว่าเมื่อเวลายิ่งผ่านเนิ่นนานออกไปกระแสความไม่พอใจในหมู่ประชาชนรวมทั้งแรงกดดันจากนานาชาติ ก็จะทำให้คณะผู้นำทางทหารกุมอำนาจการปกครองไว้ไม่ได้ ในที่สุดก็จำเป็นต้องคืนอำนาจให้ประชาน แต่กว่าจะมาถึงจุดนี้ได้ ในบางประเทศก็เกิดความวุ่นวาย มีการต่อสู้ระหว่างกำลังของประชาชนกับกำลังของรัฐบาลเผด็จการทหาร ซึ่งจากประวัติศาสตร์การเรียกร้องสิทธิเสรีภาพในการปกครองที่ผ่านมา มักจะจบลงโดยชัยชนะเป็นของฝ่ายประชาชน เช่นเหตุการณ์ซึ่งเกิดขึ้นที่โรมาเนีย ฟิลิปปินส์ เป็นต้น ตัวอย่างของการปกครองแบบเผด็จการทหาร เช่น การปกครองของญี่ปุ่นระหว่างสงครามโลกครั้งที่ 2 อันเป็นระยะที่พลเอกโตโจและคณะนายทหารใช้อำนาจเผด็จการในการปกครอง หรือการปกครองของไทยระหว่างที่ไม่มีรัฐธรรมนูญ ในระหว่างวันที่ 20 ตุลาคม 2501 ถึงวันที่ 20 มิถุนายน 2511 อำนาจการปกครองประเทศตกอยู่ภายใต้การควบคุมของคณะปฏิวัติ ซึ่งนำโดย จอมพลสฤษดิ์ ธนะรัชต์ และจอมพลถนอม กิตติขจร ส่วนในปัจจุบัน(พ.ศ. 2541) ก็มี เช่น การปกครองของสหภาพพม่าภายใต้การนำของพลเอกตาน ส่วย เป็นต้น
2. ระบอบเผด็จการฟาสซิสต์
ระบอบเผด็จการฟาสซิสต์ หมายถึง ระบอบเผด็จการที่ผู้นำคนหนึ่งซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มนักธุรกิจและกองทัพให้ใช้อำนาจเผด็จการปกครองประเทศ ผู้นำในระบอบการปกครองเผด็จการฟาสซิสต์มักจะมีลัทธิการเมืองที่เรียกกันว่า ลัทธิฟาสซิสต์ เป็นลัทธิชี้นำในการปกครองและมุ่งที่จะใช้อำนาจเผด็จการปกครองประเทศเป็นการถาวร โดยเชื่อว่าระบอบการปกครองแบบนี้เหมาะสมกับประเทศของตน และจะช่วยให้ประเทศของตนมีความเจริญก้าวหน้าโดยเร็ว ตัวอย่างของการปกครองระบอบเผด็จการฟาสซิสต์ เช่น การปกครองของอิตาลีสมัยมุสโสลินีเป็นผู้นำ ระหว่าง พ.ศ. 2473 – 2486 การปกครองของเยอรมนีสมัยฮิตเลอร์เป็นผู้นำ ระหว่าง พ.ศ. 2476 – 2488 หรือการปกครองของสเปนสมัยจอมพลฟรังโกเป็นผู้นำระหว่าง
พ.ศ. 2480 – 2518 เป็นต้น
ระบอบเผด็จการฟาสซิสต์ หมายถึง ระบอบเผด็จการที่ผู้นำคนหนึ่งซึ่งได้รับการสนับสนุนจากกลุ่มนักธุรกิจและกองทัพให้ใช้อำนาจเผด็จการปกครองประเทศ ผู้นำในระบอบการปกครองเผด็จการฟาสซิสต์มักจะมีลัทธิการเมืองที่เรียกกันว่า ลัทธิฟาสซิสต์ เป็นลัทธิชี้นำในการปกครองและมุ่งที่จะใช้อำนาจเผด็จการปกครองประเทศเป็นการถาวร โดยเชื่อว่าระบอบการปกครองแบบนี้เหมาะสมกับประเทศของตน และจะช่วยให้ประเทศของตนมีความเจริญก้าวหน้าโดยเร็ว ตัวอย่างของการปกครองระบอบเผด็จการฟาสซิสต์ เช่น การปกครองของอิตาลีสมัยมุสโสลินีเป็นผู้นำ ระหว่าง พ.ศ. 2473 – 2486 การปกครองของเยอรมนีสมัยฮิตเลอร์เป็นผู้นำ ระหว่าง พ.ศ. 2476 – 2488 หรือการปกครองของสเปนสมัยจอมพลฟรังโกเป็นผู้นำระหว่าง
พ.ศ. 2480 – 2518 เป็นต้น
3. ระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์
ระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์ หมายถึง ระบอบเผด็จการที่พรรคคอมมิวนิสต์เพียงพรรคเดียวได้รับการยอมรับ หรือสนับสนุนจากกลุ่มบุคคลต่าง ๆ และกองทัพให้เป็นผู้ใช้อำนาจเผด็จการปกครองประเทศ คณะผู้นำของพรรคคอมมิวนิสต์เชื่อว่า ระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์เป็นรูปแบบการปกครองที่เหมาะสมกับประเทศของตน และจะช่วยทำให้ชนชั้นกรรมาชีพเป็นอิสระจากการถูกกดขี่โดยชนชั้นนายทุน รวมทั้งทำให้ประเทศมีความเจริญก้าวหน้าและเข้มแข็งทัดเทียมกับต่างประเทศได้เร็วกว่าระบอบการปกครองแบบอื่น ระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์มีความแตกต่างจากระบอบเผด็จการทหารอยู่ข้อหนึ่งที่สำคัญ คือ ระบอบเผด็จการทหารจะควบคุมเฉพาะกิจกรรมทางการเมืองของประชาชนเท่านั้น แต่ระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์จะใช้อำนาจเผด็จการควบคุมกิจกรรมละการดำเนินชีวิตของประชาชนในทุกด้าน ไม่ว่าจะเป็นด้านการเมือง การปกครอง ด้านเศรษฐกิจ และด้านสังคม ด้วยเหตุนี้นักรัฐศาสตร์จึงเรียกระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์อีกอย่างหนึ่งว่า ระบอบเผด็จการแบบเบ็ดเสร็จหลักการของระบอบเผด็จการ
1. ผู้นำคนเดียวหรือคณะผู้นำของกองทัพ หรือของพรรคการเมืองเพียงกลุ่มเดียวมีอำนาจสูงสุด และสามารถใช้
อำนาจนั้นได้อย่างเต็มที่โดยไม่ต้องฟังเสียงคนส่วนใหญ่ในประเทศ
2. การรักษาความมั่นคงของผู้นำหรือคณะผู้นำ มีความสำคัญกว่าการคุ้มครองสิทธิเสรีภาพของประชาชน ประชาชนไม่สามารถที่จะวิพากษ์วิจารณ์การกระทำของผู้นำอย่างเปิดเผยได้
3. ผู้นำหรือคณะผู้นำสามารถที่จะอยู่ในอำนาจได้ตลอดชีวิต หรือนานเท่าที่กลุ่มผู้ร่วมงานหรือกองทัพยังให้การสนับสนุน ประชาชนทั่วไปไม่มีสิทธิที่จะเปลี่ยนผู้นำได้โดยวิถีทางรัฐธรรมนูญ
4. รัฐธรรมนูญและการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนที่จัดขึ้นตามรัฐธรรมนูญและรัฐสภา ไม่มีความสำคัญต่อกระบวนการทางการปกครองเหมือนในระบอบประชาธิปไตย กล่าวคือ รัฐธรรมนูญเป็นแต่เพียงรากฐานรองรับอำนาจของผู้นำหรือคณะผู้นำเท่านั้น ส่วนการเลือกตั้งสมาชิกสภาผู้แทนที่จัดขึ้นก็เพื่อให้ประชาชนออกเสียงเลือกตั้งผู้สมัครที่ผู้นำหรือคณะผู้นำส่งเข้าสมัครรับเลือกตั้งเท่านั้น ในทำนองเดียวกัน รัฐสภาก็จะประชุมกันปีละ 5 – 10 วัน เพื่อรับทราบและยืนยันให้ผู้นำหรือคณะผู้นำทำการปกครองต่อไป ตามที่ผู้นำหรือคณะผู้นำเห็นสมควร
ข้อดีและข้อเสีย ของระบอบเผด็จการ
ข้อดีของระบอบเผด็จการ ได้แก่
1. รัฐบาลสามารถตัดสินใจทำการอย่างใดอย่างหนึ่งได้รวดเร็วกว่ารัฐบาลในระบอบประชาธิปไตย เช่น สามารถออกกฎหมายมาใช้บังคับเพื่อวัตถุประสงค์อย่างใดอย่างหนึ่งได้ โดยไม่ต้องขอความเห็นชอบจากเสียงข้างมากในรัฐสภา ทั้งนี้ก็เพราะผู้นำหรือคณะรัฐมนตรีมักจะได้รับมอบอำนาจจากรัฐสภาไว้ล่วงหน้าให้ออกกฎหมายหรือระเบียบข้อบังคับบางอย่างได้เอง
2. แก้ปัญหาบางอย่างได้อย่างมีประสิทธิผลกว่าระบอบประชาธิปไตย เช่น สั่งการปราบการจลาจล การก่ออาชญากรรม และการก่อการร้ายต่าง ๆ ได้อย่างเฉียบขาดมากกว่า โดยไม่จำต้องเกรงว่าจะเกินอำนาจที่กฎหมายให้ไว้ เนื่องจากศาลในระบอบเผด็จการไม่ได้มีความเป็นอิสระในการพิจารณาคดีเหมือนในระบอบประชาธิปไตย
ข้อเสียของระบอบเผด็จการ ได้แก่
1. เป็นการปกครองโดยบุคคลคนเดียวหรือกลุ่มเดียว ซึ่งย่อมจะมีการผิดพลาดและใช้อำนาจเพื่อประโยชน์ส่วนตนและพวกพ้องได้โดยไม่มีใครรู้หรือกล้าคัดค้าน
2. มีการใช้อำนาจเผด็จการกดขี่และลิดรอนสิทธิเสรีภาพ รวมทั้งประทุษร้ายต่อชีวิตของคนหรือกลุ่มคนที่ไม่เห็นด้วยกับกลุ่มผู้ปกครอง
3. ทำให้คนดีมีความสามารถที่ไม่ใช่พวกพ้อง หรือผู้สนับสนุนกลุ่มผู้ปกครองไม่มีโอกาสดำรงตำแหน่งสำคัญในทางการเมือง
4. ประชาชนส่วนใหญ่ที่ถูกกดขี่และขาดสิทธิเสรีภาพ ย่อมจะไม่สนับสนุนนโยบายของรัฐบาลอย่างเต็มที่และอาจพยายามต่อต้านอยู่เงียบ ๆ หรือมิฉะนั้นบางคนก็อาจจะหลบหนีไปอยู่ต่างประเทศ ซึ่งส่วนใหญ่บุคคลเหล่านี้มักจะเป็นพวกปัญญาชน ทำให้ประเทศชาติขาดแคลนทรัพยากรบุคคลที่มีความรู้ความสามารถ
5. อาจนำประเทศชาติไปสู่ความพินาศได้ เหมือนดังฮิตเลอร์ได้นำประเทศเยอรมนี หรือพลเอกโตโจได้นำประเทศญี่ปุ่นเข้าสู่สงครามโลกครั้งที่ 2 ซึ่งผลปรากฏว่าทั้งสองประเทศประสบความพินาศอย่างย่อยยับ หรือตัวอย่างเหตุการณ์ที่ประธานาธิบดีซัดดัม ฮุสเซน เห่งอิรัค ได้ส่งกำลังทหารเข้ายึดครองประเทศคูเวต และไม่ยอมถอนตัวออกไปตามมติขององค์การสหประชาชาติ จนกองกำลังนานาชาติต้องเปิดฉากทำสงครามกับอิรักเพื่อปลดปล่อยคูเวต และผลสุดท้ายอิรักก็เป็นฝ่ายปราชัยอย่างย่อยยับ ทำให้ประชาชนชาวอิรักต้องประสบความเดือดร้อนอย่างแสนสาหัสเสียทั้งทรัพย์สินและชีวิต การพัฒนาประเทศหยุดชะงัก ทั้งนี้เป็นเพราะการตัดสินใจผิดพลาดของผู้นำเพียงคนเดียว
เนื่องจากระบอบประชาธิปไตยและระบอบเผด็จการต่างก็มีข้อดีและข้อเสียดังกล่าว จึงทำให้ชนชั้นนำและประชาชนจำนวนหนึ่งในประเทศต่างๆ เลือกใช้ระบอบการปกครองที่พวกตนคิดว่าเหมาะสมกับประเทศของตนในขณะนั้น และสามารถช่วยแก้ปัญหาทางการเมือง เศรษฐกิจ และสังคมในประเทศของตนตามแนวทางที่พวกตนเชื่อได้ ดังจะเห็นได้ว่า ในระยะตั้งแต่สิ้นสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นต้นมา บางประเทศได้เปลี่ยนแปลงการปกครองของตนจากระบอบเผด็จการมาเป็นระบอบประชาธิปไตย เช่น เยอรมนี อิตาลี ญี่ปุ่น โปรตุเกส สเปน เป็นต้น ส่วนบางประเทศก็เปลี่ยนจากระบอบประชาธิปไตยมาเป็นระบอบเผด็จการทหาร เช่น พม่า นิการากัว เอธิโอเปีย เป็นต้น ในทำนองเดียวกัน บางประเทศก็เปลี่ยนจากระบอบเผด็จการฟาสซิสต์หรือเผด็จการทหารเป็นระบอบเผด็จการคอมมิวนิสต์ เช่น เกาหลีเหนือ เป็นต้น
วันอังคารที่ 1 กันยายน พ.ศ. 2558
การปกครองแบบประชาธิปไตย
ความหมายของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย
หมายถึงระบอบการปกครองที่อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชน ประชาชนมีสิทธิเสรีภาพ โดยอาศัยหลักการของการแบ่งแยกอำนาจ และหลักการที่ว่าด้วยความถูกต้องแห่งกฎหมาย ผู้ปกครองประเทศที่มาจากการเลือกตั้งของประชาชน เป็นเพียงตัวแทนที่ได้รับมอบอำนาจให้ใช้อำนาจอธิปไตยแทนประชาชน
รัฐสภา(ตัวแทนประชาชน)มีอำนาจถ่วงดุลกับฝ่ายบริหาร การแบ่งแยกอำนาจช่วยให้ควบคุมซึ่งกันและกัน ประชาชนจึงมีเสรีภาพมากขึ้นไม่ถูกบังคับความถูกต้องแห่งกฎหมาย ทำให้ประชาชนสามารถโต้แย้งคัดค้านการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐได้ การปกครองแบบประชาธิปไตย มีหลักเกณฑ์ขั้นต่ำ 3 ประการคือ
รัฐสภา(ตัวแทนประชาชน)มีอำนาจถ่วงดุลกับฝ่ายบริหาร การแบ่งแยกอำนาจช่วยให้ควบคุมซึ่งกันและกัน ประชาชนจึงมีเสรีภาพมากขึ้นไม่ถูกบังคับความถูกต้องแห่งกฎหมาย ทำให้ประชาชนสามารถโต้แย้งคัดค้านการปฏิบัติที่ไม่ชอบด้วยกฎหมายของรัฐได้ การปกครองแบบประชาธิปไตย มีหลักเกณฑ์ขั้นต่ำ 3 ประการคือ
- ผู้ปกครองจะต้องได้รับความยินยอมจากผู้ใต้ปกครอง
- ผู้ใต้ปกครองจะต้องมีสิทธิเปลี่ยนตัวผู้ปกครองได้เป็นครั้งคราว
- สิทธิมนุษยชนขั้นมูลฐานของประชาชนจะต้องได้รับการคุ้มครอง
องค์ประกอบของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย เลือกตั้ง , หลักการแบ่งแยกอำนาจ , หลักความถูกต้องแห่งกฎหมาย การเลือกตั้งคือพื้นฐานสำคัญของระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย ซึ่งทำทำให้เกิดสถาบันการเมือง คือ พรรคการเมืองขึ้น
รุสโซ กล่าวว่า อำนาจอธิปไตยหรืออำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของประชาชน(จาก สัญญาประชาคม) แต่ด้วยประชาชนมีจำนวนมากไม่สามารถมีส่วนร่วมได้อย่างทั่วถึง จึงเกิดวิธีการ มอบอำนาจ ขึ้นซึ่งก็คือการเลือกผู้แทนของตน เข้าไปทำหน้าที่ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ตามที่ตนต้องการ การเลือกตั้ง ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
รุสโซ กล่าวว่า อำนาจอธิปไตยหรืออำนาจสูงสุดในการปกครองประเทศเป็นของประชาชน(จาก สัญญาประชาคม) แต่ด้วยประชาชนมีจำนวนมากไม่สามารถมีส่วนร่วมได้อย่างทั่วถึง จึงเกิดวิธีการ มอบอำนาจ ขึ้นซึ่งก็คือการเลือกผู้แทนของตน เข้าไปทำหน้าที่ทั้งฝ่ายนิติบัญญัติ ฝ่ายบริหาร ตามที่ตนต้องการ การเลือกตั้ง ต้องเป็นไปตามหลักเกณฑ์ ดังนี้
- อิสระแห่งการเลือกตั้ง = โดยเสรี ไม่มีการบังคับ จ้างวาน / เลือกตั้งตามกำหนดเวลา = กำหนดสมัยแน่นอน ไม่ห่างเกินไป / ประชาชนควบคุมดูแลผู้แทนของตนได้ / เลือกตั้งอย่างแท้จริง = ไม่โกง ให้ราษฎรมีส่วนร่วมการจัดการ คัดค้านการทุจริตได้ /
- ออกเสียงโดยทั่วไป = ประชาชนมีโอกาสใช้สิทธิอย่างทั่วถึง / เลือกตั้งอย่างเสมอภาค = ทุกเสียงมีค่าเท่ากัน
- ลงคะแนนลับ = มิให้ผู้อื่นได้รู้ว่าลงคะแนนอย่างไร เพื่อป้องกันการบังคับ
รูปแบบการเลือกตั้ง เลือกตั้งโดยตรง(ผู้เลือกตั้งเลือกผู้แทนของตนโดยตรง)เลือกตั้งโดยอ้อม(เลือกบุคคลไปเลือกผู้แทน)
- ข้อดี เลือกตั้งโดยตรง : ได้ผู้แทนตามเจตจำนง, ผู้แทนใกล้ชิดประชาชน, ยากแก่การใช้อิทธิพล, ผู้แทนปฏิบัติงานอย่างมั่นใจ
- ข้อเสีย เลือกตั้งโดยตรง : เขตเลือกตั้งใหญ่, ประชาชนรู้จักผู้สมัครไม่ทั่วถึง
- ข้อดี เลือกตั้งโดยอ้อม : เลือกตั้งได้ง่าย, เลือกผู้มีความสามารถก่อนที่จะไปเลือกผู้แทนอีกครั้ง, เหมาะกับที่ที่ไม่มีการศึกษา ข้อเสีย เลือกตั้งโดยอ้อม : ทุจริตได้ง่าย, คนกลางมีอำนาจ, ดูถูกว่าราษฎรโง่ทำให้ไม่สนใจการเลือกตั้ง, ต้องเลือกตั้ง 2 ครั้ง เลือกตั้งแบบรวมเขต(ถือเอาจังหวัดหนึ่งเป็น1เขต)เลือกตั้งแบบแบ่งเขต(ในจังหวัดหนึ่งแบ่งเป็นเขตๆ)
- หลักการแบ่งแยกอำนาจ มองเตสกิเออ อธิบายใน “เจตนารมณ์ของกฎหมาย” ว่าอำนาจอธิปไตยประกอบด้วยอำนาจ 3 อำนาจ คือ อำนาจนิติบัญญัติ อำนาจบริหาร อำนาจตุลาการ หากอำนาจทั้ง 3 รวมอยู่ที่องค์กรเดียวเสรีภาพของประชาชนจะไม่เกิด
- หลักการที่ว่าด้วยความถูกต้องตามกฎหมาย หมายถึง ผู้มีอำนาจปกครองจะใช้อำนาจปกครองจามอำเภอใจไม่ได้ การใช้อำนาจปกครองจะต้องสอดคล้องถูกต้องกับกฎหมายทั้งหลายที่ใช้บังคับอยู่
รูปแบบของรัฐบาลในระบอบการปกครองแบบประชาธิปไตย มี 2 แบบ คือ แบบรัฐสภา ,แบบประธานาธิบดี(มีการเพิ่มแบบกึ่งรัฐสภากึ่งประธานาธิบดีเข้ามาในช่วงหลัง)
- แบบรัฐสภา ฝ่ายบริหารแยกเป็น 2 องค์กร คือ องค์กรประมุขของรัฐ ,องค์กรคณะรัฐมนตรีองค์กรประมุขของรัฐ อาจเป็นกษัตริย์ (ส่วนใหญ่เป็นสังคมอนุรักษ์นิยม)หรือประธานาธิบดีก็ได้(สังคมเสรีนิยม) องค์กรคณะรัฐมนตรี หรือรัฐบาล มีความรับผิดชอบทางการเมืองต่อรัฐสภา หากรัฐสภาไม่ไว้วางใจก็ต้องลาออก วิธีการที่รัฐสภาไม่ไว้วางใจคณะรัฐบาล เช่น การอภิปรายไม่ไว้วางใจ , การไม่ผ่านร่างงบประมาณประจำปี , ไม่ผ่าน ก.ม สำคัญ ส่วนฝ่ายคณะรัฐมนตรีก็สามารถยุบสภาได้ ทำให้เกิดดุลแห่งอำนาจขึ้น (ในที่สุดประชาชนก็จะเลือกตั้งใหม่)
- แบบประธานาธิบดี ประธานาธิบดี จะเป็นทั้งประมุขของรัฐ ,หัวหน้าคณะรัฐมนตรี องค์กรคณะรัฐมนตรีเป็นเพียงที่ปรึกษาให้คำแนะนำ สิทธิขาดอยู่ที่ประธานาธิบดี (คัดค้าน 7 เสียง เห็นด้วย 1 เสียง 1 เสียงชนะ)
ระบอบการปกครองแบบเผด็จการ
ระบอบการปกครองแบบเผด็จการมีความหมาย 2 นัย คือ 1.ระบอบการปกครองชั่วคราวที่มีวัตถุประสงค์จะปกปักษ์รักษาระบบเดิมเอาไว้ 2. ระบบที่รัฐบาลไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน
ระบอบการปกครองแบบเผด็จการของประเทศที่มีระบบเศรษฐ์กิจแบบทุนนิยม
การปกครองแบบเผด็จการมักเกิดขึ้นเมื่อสังคมเกิดวิกฤติการณ์ ทำให้ผู้มีอำนาจจำเป็นต้องใช้วิธีการแบบเผด็จการ ทั้งนี้เพื่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง การปกครองแบบเผด็จการมักเกิดขึ้นเมื่อเกิดวิกฤติการณ์เกี่ยวกับความชอบธรรมของอำนาจปกครอง เมื่อใดประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับอำนาจปกครองขณะนั้น ก็จะพยายามไม่ทำตามการปกครองนั้น จนในที่สุดผู้มีอำนาจปกครองเป็นต้องใช้อำนาจปกครองแบบเผด็จการขึ้น
สถาบันการเมืองของระบอบการปกครองแบบเผด็จการ ที่สนับสนุนคือ ทหาร และพรรคการเมืองพรรคเดียววิธีการที่ทำให้ประชาชนยอมรับอำนาจปกครองแบบเผด็จการ คือ การปราบปรามผู้โต้แย้ง ,การโฆษณาชวนเชื่อการปราบปรามผู้โต้แย้ง เช่นการจับกุมคุมขัง การส่งตัวไปค่ายกักกัน การทรมาน การประหารชีวิต กลไกที่ใช้คือ ก.ม. ศาล ตำรวจรูปแบบของการปกครองแบบเผด็จการในระบบทุนนิยม มีแบบระบบการปกครองแบบเผด็จการเกิดขึ้นเมื่อสังคมของประเทศเกิดวิกฤติการณ์ ร้ายแรง เช่น วิกฤติการณ์ทางสังคม (โครงสร้างสังคมเปลี่ยนเกิดความสับสน จึงเกิดการปกครองแบบเผด็จการขึ้น เพื่อความสงบสุขของบ้านเมือง) วิกฤติการณ์เกี่ยวกับความชอบธรรมแห่งอำนาจปกครอง(เกิดเมื่อประชาชนเห็นว่ารัฐบาลไม่มีความชอบธรรมแห่งอำนาจประชาชนเริ่มไม่ให้ความร่วมมือ ในที่สุดก็ต้องใช้การปกครองแบบเผด็จการ)
การสร้างความชอบธรรมแห่งอำนาจปกครองเผด็จการแบบปฏิวัติ ผู้เผด็จการจะพยายามสร้างความชอบธรรมโดยการบังคับเผด็จการแบบปฏิรูป โดยอ้างถึงอุดมการณ์ทางการเมืองแบบใหม่ สถาบันการเมืองของระบบการปกครองแบบเผด็จการ จะมี 2 ส่วนใหญ่ คือ ทหาร และ พรรคการเมือง(พรรคเดียว)วิธีการที่ทำให้ประชาชนยอมรับอำนาจการปกครองแบบเผด็จการคือ
ระบอบการปกครองแบบเผด็จการมีความหมาย 2 นัย คือ 1.ระบอบการปกครองชั่วคราวที่มีวัตถุประสงค์จะปกปักษ์รักษาระบบเดิมเอาไว้ 2. ระบบที่รัฐบาลไม่ได้มาจากการเลือกตั้งของประชาชน
ระบอบการปกครองแบบเผด็จการของประเทศที่มีระบบเศรษฐ์กิจแบบทุนนิยม
การปกครองแบบเผด็จการมักเกิดขึ้นเมื่อสังคมเกิดวิกฤติการณ์ ทำให้ผู้มีอำนาจจำเป็นต้องใช้วิธีการแบบเผด็จการ ทั้งนี้เพื่อความสงบเรียบร้อยของบ้านเมือง การปกครองแบบเผด็จการมักเกิดขึ้นเมื่อเกิดวิกฤติการณ์เกี่ยวกับความชอบธรรมของอำนาจปกครอง เมื่อใดประชาชนส่วนใหญ่ไม่เห็นด้วยกับอำนาจปกครองขณะนั้น ก็จะพยายามไม่ทำตามการปกครองนั้น จนในที่สุดผู้มีอำนาจปกครองเป็นต้องใช้อำนาจปกครองแบบเผด็จการขึ้น
สถาบันการเมืองของระบอบการปกครองแบบเผด็จการ ที่สนับสนุนคือ ทหาร และพรรคการเมืองพรรคเดียววิธีการที่ทำให้ประชาชนยอมรับอำนาจปกครองแบบเผด็จการ คือ การปราบปรามผู้โต้แย้ง ,การโฆษณาชวนเชื่อการปราบปรามผู้โต้แย้ง เช่นการจับกุมคุมขัง การส่งตัวไปค่ายกักกัน การทรมาน การประหารชีวิต กลไกที่ใช้คือ ก.ม. ศาล ตำรวจรูปแบบของการปกครองแบบเผด็จการในระบบทุนนิยม มีแบบระบบการปกครองแบบเผด็จการเกิดขึ้นเมื่อสังคมของประเทศเกิดวิกฤติการณ์ ร้ายแรง เช่น วิกฤติการณ์ทางสังคม (โครงสร้างสังคมเปลี่ยนเกิดความสับสน จึงเกิดการปกครองแบบเผด็จการขึ้น เพื่อความสงบสุขของบ้านเมือง) วิกฤติการณ์เกี่ยวกับความชอบธรรมแห่งอำนาจปกครอง(เกิดเมื่อประชาชนเห็นว่ารัฐบาลไม่มีความชอบธรรมแห่งอำนาจประชาชนเริ่มไม่ให้ความร่วมมือ ในที่สุดก็ต้องใช้การปกครองแบบเผด็จการ)
การสร้างความชอบธรรมแห่งอำนาจปกครองเผด็จการแบบปฏิวัติ ผู้เผด็จการจะพยายามสร้างความชอบธรรมโดยการบังคับเผด็จการแบบปฏิรูป โดยอ้างถึงอุดมการณ์ทางการเมืองแบบใหม่ สถาบันการเมืองของระบบการปกครองแบบเผด็จการ จะมี 2 ส่วนใหญ่ คือ ทหาร และ พรรคการเมือง(พรรคเดียว)วิธีการที่ทำให้ประชาชนยอมรับอำนาจการปกครองแบบเผด็จการคือ
- การปราบปราม โดยใช้วิธีการกำจัดฝ่ายที่คัดค้านโต้แย้งอำนาจเผด็จการ วิธีการต่างๆที่ใช้ปราบปราม คือ การจับกุมคุมขัง การส่งตัวไปค่ายกักกัน การทรมาน และการประหารชีวิต กลไกที่ใช้ปราบปรามได้แก่ กฎหมาย ศาล ตำรวจ และกลไกที่ได้ผลเด็ดขาด คือการสร้าง ตำรวจลับ ขึ้น โดยจะจัดการกับผู้ต่อต้านโดยไม่มีการพิจารณาคดีตามปกติ
- การโฆษณาชวนเชื่อ เพื่อจูงใจประชาชนให้ยอมรับอำนาจเผด็จการ
- รูปแบบการปกครองแบบเผด็จการในระบบทุนนิยม “ฟาสซิสม์”
ฟาสซิสม์ เป็นการปกครองแบบเผด็จการของประเทศอุตสาหกรรม การปกครองที่มีพรรคการเมืองพรรคเดียว การปกครองที่จัดให้มีการโฆษณาชวนเชื่อในรูปแบบทันสมัย พื้นฐานอันแท้จริงของเผด็จการแบบฟาสซิสม์ คือ แนวความคิดแบบอนุรักษ์นิยม สถาบันการเมืองของเผด็จการแบบฟาสซิสม์ ได้แก่ พรรคการเมืองพรรคเดียว การจัดตั้งสมาคมอาชีพ การโฆษณาชวนเชื่อ การปราบปรามฝ่ายตรงข้าม
ระบอบการปกครองแบบเผด็จการของประเทศที่มีระบบเศรษฐ์กิจแบบสังคมนิยม
ประเทศสังคมนิยม ยึดถือโครงสร้างในการผลิตเป็นพื้นฐานสำคัญของสังคม โดยถือว่า เครื่องมือในการผลิตเป็นของส่วนรวม นอกจากนี้ยังยึดถืออุดมการณ์เป็นสิ่งที่มีบทบาทสำคัญยิ่ง เพราะอุดมการณ์เป็นความนึกคิดที่มีเหตุผลในทางวิทยาศาสตร์ และเป็นจุดเริ่มต้นของโครงสร้างการผลิต นอกจากนี้ยังยอมรับอุดมการณ์อย่างอื่นด้วย เช่น อุดมการณ์แบบธรรมเนียมประเพณีอุดมการณ์ทางการเมือง เป็นต้น
การใช้อำนาจเผด็จการแบบปฏิวัติมีลักษณะ 2 ประการคือ
- การใช้อำนาจเผด็จการแบบชั่วคราวที่คณะปฏิวัติจะทำหน้าที่เสมือนหนึ่งผู้พิทักษ์หรือผู้อนุบาล
- มุ่งกล่อมเกลา เปลี่ยนแปลงทัศนคติของประชาชนเพื่อให้ประชาชนสามารถใช้เสรีภาพและการดำรงชีวิตโดยไม่ต้องอาศัยเผด็จการ ลักษณะสำคัญของรัฐธรรมนูญของประเทศเผด็จการสังคมนิยม คือ การเลือกตั้งแบบหยั่งเสียง คือการเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ
วันพุธที่ 26 สิงหาคม พ.ศ. 2558
สรุปหน้าที่พลเมือง
หน้าที่พลเมือง
พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตย คือ คนที่ยึดหลักประชาธิปไตยในการดำรงชีวิต ปฏิบัติตนอยู่ในจริยธรรมที่ดีงาม ประพฤติตนในกรอบของสิทธิเสรีภาพและหน้าที่ของการเป็นพลเมืองดรวมทั้งช่วยส่งเสริมให้ผู้อื่นปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี การมองเห็นคุณค่าของวิถีประชาธิปไตยจะช่วยให้สังคมมีความมั่นคง ปลอดภัยและสงบสุขมากขึ้นวิถีประชาธิปไตยของพลเมืองดี มีลักษณะที่สำคัญ ดังนี้
1. การคำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวมมากกว่าประโยชน์ส่วนตัว ได้แก่ การลดความเห็นแก่ตัว และเสียสละแรงกายและใจเพื่อทำประโยชน์ให้แก่ส่วนรวม ช่วยกันดูแลรักษาทรัพย์สินที่เป็นสาธารณสมบัติ เช่น ตู้โทศัพท์สาธารณะ ห้องสมุดประจำหมู่บ้าน เป็นต้น ช่วยกันอนุรักษ์สิ่งแวดล้อม เช่น ป่าไม้ แม่น้ำลำธาร เป็นต้น รวมทั้งช่วยกันตักเตือนหรือห้ามปรามบุคคลไม่ให้ทำลายสาธารณะสมบัติหรือสิ่งแวดล้อม
2. วินัย ได้แก่ การฝึกกาย วาจา และใจให้สามารถควบคุมพฤติกรรมของตนเองให้อยู่ในระเบียบแบบแผนที่ดีงาม เพื่อให้การปฏิบัติงานและการอยู่ร่วมกันของกลุ่มในสังคมนั้นเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
3. ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ได้แก่ การเอาใจใส่ ตั้งใจ และมุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทของตนอย่างเต็มความสามารถ ทั้งนี้เพื่อให้งานบรรลุผลตามเป้าหมายตรงตามระยะเวลาที่กำหนด
4. ความอดทน ได้แก่ การมีจิตใจหนักแน่น เยือกเย็น ไม่หุนหันพลันแล่น สามารถคาบคุมอารมณ์ และพฤติกรรมให้เป็นปกติ เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาหรือสิ่งที่ไม่พึงพอใจ
5. การประหยัดและอดออม ได้แก่ การรู้จักใช้จ่ายตามความจำเป็นอย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย รู้จักเก็บออมเอาไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น ใช้ชีวิตให้เหมาะสมกับฐานะความเป็นอยู่ของตน
6. การมีน้ำใจเป็นนักกีฬา ได้แก่ การมีจิตใจเปิดเผย รู้จักรู้แพ้รู้ชนะ และให้อภัยกันและกัน ทำงานในลักษณะช่วยเหลือเกื้อกูลกันไม่แข่งขันหรือแก่งแย่งชิงดีกัน
7. ความสื่อสัตย์สุจริต ได้แก่ มีความจริงใจ ไม่มีอคติ ปฏิบัติตนปฏิบัติงานตรงไปตรงมาตามระเบียบปฏิบัติ ไม่ใช้เล่ห์เหลี่ยมหรือกลโกง ไม่ทำแบบ “คดในข้อ งอในกระดูก” นอกจากนี้การทำงานต้องอยู่บนพื้นฐานของความไว้วางใจและมีไมตรีจิตต่อกัน ไม่หวาดระแวงแครงใจกันหรือไม่เชื่อถือผู้อื่นนอกจากตนเอง
8. การอนุรักษ์ความเป็นไทย ได้แก่ มีจิตสำนึกในความเป็นไทย เช่น พูด เขียน และใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง อนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยและนำความเป็นไทยมาใช้ให้เกิดประโยชน์ รวมทั้งคิดค้น ปรับปรุงดัดแปลงความเป็นไทยให้เข้ากับสภาพการณ์ที่เป็นอยู่จริงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ตลอดจนถ่ายทอดความเป็นไทยสืบต่อไปยังคนรุ่นหลังได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
2. วินัย ได้แก่ การฝึกกาย วาจา และใจให้สามารถควบคุมพฤติกรรมของตนเองให้อยู่ในระเบียบแบบแผนที่ดีงาม เพื่อให้การปฏิบัติงานและการอยู่ร่วมกันของกลุ่มในสังคมนั้นเป็นไปด้วยความเรียบร้อย
3. ความรับผิดชอบต่อหน้าที่ ได้แก่ การเอาใจใส่ ตั้งใจ และมุ่งมั่นปฏิบัติหน้าที่ตามบทบาทของตนอย่างเต็มความสามารถ ทั้งนี้เพื่อให้งานบรรลุผลตามเป้าหมายตรงตามระยะเวลาที่กำหนด
4. ความอดทน ได้แก่ การมีจิตใจหนักแน่น เยือกเย็น ไม่หุนหันพลันแล่น สามารถคาบคุมอารมณ์ และพฤติกรรมให้เป็นปกติ เมื่อต้องเผชิญกับปัญหาหรือสิ่งที่ไม่พึงพอใจ
5. การประหยัดและอดออม ได้แก่ การรู้จักใช้จ่ายตามความจำเป็นอย่างคุ้มค่า และเกิดประโยชน์สูงสุด ไม่ฟุ้งเฟ้อฟุ่มเฟือย รู้จักเก็บออมเอาไว้ใช้เมื่อยามจำเป็น ใช้ชีวิตให้เหมาะสมกับฐานะความเป็นอยู่ของตน
6. การมีน้ำใจเป็นนักกีฬา ได้แก่ การมีจิตใจเปิดเผย รู้จักรู้แพ้รู้ชนะ และให้อภัยกันและกัน ทำงานในลักษณะช่วยเหลือเกื้อกูลกันไม่แข่งขันหรือแก่งแย่งชิงดีกัน
7. ความสื่อสัตย์สุจริต ได้แก่ มีความจริงใจ ไม่มีอคติ ปฏิบัติตนปฏิบัติงานตรงไปตรงมาตามระเบียบปฏิบัติ ไม่ใช้เล่ห์เหลี่ยมหรือกลโกง ไม่ทำแบบ “คดในข้อ งอในกระดูก” นอกจากนี้การทำงานต้องอยู่บนพื้นฐานของความไว้วางใจและมีไมตรีจิตต่อกัน ไม่หวาดระแวงแครงใจกันหรือไม่เชื่อถือผู้อื่นนอกจากตนเอง
8. การอนุรักษ์ความเป็นไทย ได้แก่ มีจิตสำนึกในความเป็นไทย เช่น พูด เขียน และใช้ภาษาไทยให้ถูกต้อง อนุรักษ์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาไทยและนำความเป็นไทยมาใช้ให้เกิดประโยชน์ รวมทั้งคิดค้น ปรับปรุงดัดแปลงความเป็นไทยให้เข้ากับสภาพการณ์ที่เป็นอยู่จริงทั้งทางด้านเศรษฐกิจ สังคมและการเมือง ตลอดจนถ่ายทอดความเป็นไทยสืบต่อไปยังคนรุ่นหลังได้อย่างถูกต้องเหมาะสม
พลเมืองของแต่ละประเทศย่อมมีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมายของประเทศนั้น บุคคลต่างสัญชาติที่เข้าไปอยู่อาศัยซึ่งเรียกว่าคนต่างด้าว ไม่มีสิทธิเท่าเทียมกับพลเมืองและมีหน้าที่แตกต่างออกไป เช่น อาจมีหน้าที่เสียภาษี หรือค่าธรรมเนียมเพิ่มขึ้นตามที่กฎหมายของแต่ละประเทศบัญญัติไว้
สิทธิและหน้าที่เป็นสิ่งคู่กัน เมื่อ มีสิทธิก็ต้องมีหน้าที่ พลเมืองของทุกประเทศมีทั้งสิทธิและหน้าที่ แต่จะมีมากน้อยเพียงใดขึ้นอยู่กับกฎหมายของประเทศนั้น ๆ และแน่นอนว่าประเทศที่ปกครองด้วยระบอบประชาธิปไตย ประชาชนมีสิทธิมากกว่าการปกครองในระบอบอื่น เพราะมีสิทธิที่สำคัญที่สุด คือ สิทธิในการปกครองตนเอง
พลเมืองดี หมายถึง ผู้ที่ปฏิบัติหน้าที่พลเมืองได้ครบถ้วน ทั้งกิจที่ต้องทำ และกิจที่ควรทำ
หน้าที่ หมายถึง กิจที่ต้องทำ หรือควรทำ เป็นสิ่งที่กำหนดให้ทำ หรือห้ามมิให้กระทำ ถ้าทำก็จะก่อให้เกิดผลดี เกิดประโยชน์ต่อตนเอง ครอบครัว หรือสังคมส่วนรวมแล้วแต่กรณี ถ้าไม่ทำหรือไม่ละเว้นการกระทำตามที่กำหนดจะได้รับผลเสียโดยตรง คือ ได้รับโทษ หรือถูกบังคับ เช่น ปรับ จำ คุก หรือประหารชีวิต เป็นต้น โดยทั่วไปสิ่งที่ระบุกิจที่ต้องทำ ได้แก่ กฎหมาย เป็นต้น
กิจที่ควรทำ คือ สิ่งที่คนส่วนใหญ่เห็นว่าเป็นหน้าที่ที่จะต้องทำ หรือละเว้นการกระทำ ถ้าไม่ทำหรือละเว้นการกระทำ จะได้รับผลเสียโดยทางอ้อม เช่น ได้รับการดูหมิ่นเหยียดหยาม หรือไม่คบค้าสมาคมด้วย ผู้กระทำกิจที่ควรทำจะได้นับการยกย่องสรรเสริญจากคนในสังคม โดยทั่วไปสิ่งที่ระบุกิจที่ควรทำ ได้แก่วัฒนธรรมประเพณี เป็นต้น
พลเมืองดีมีหน้าที่ต้องปฏิบัติตามกฎหมาย ขนบธรรมเนียมประเพณี และวัฒนธรรมของชาติคำสั่งสอนของพ่อแม่ ครู อาจารย์ มีความสามัคคี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน รู้จักรับผิดชอบชั่วดีตามหลักจริยธรรม และหลักธรรมของสาสนา มีความรอบรู้ มีสติปัญญาขยันขันแข็ง สร้างความเจริญก้าวหน้าให้แก่ตนเอง ครอบครัว สังคม และประเทศชาติ
- ความสำคัญของการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีการปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีของสังคมมีความสำคัญต่อประเทศ เช่น
1. ทำให้สังคมและประเทศชาติมีการพัฒนาไปได้อย่างมั่นคง
2. ทำให้สังคมมีความเป็นระเบียบเรียบร้อย
3. ทำให้เกิดความรักแบะความสามัคคีในหมู่คณะ
4. สมาชิกในสังคมอยู่ร่วมกันอย่างมีความสุข - แนวทางการพัฒนาตนเองเพื่อเป็นสมาชิกที่ดีของครอบครัวโรงเรียนและชุมชนแนวทางการพัฒนาตนเองเพื่อเป็นสมาขิกที่ดีมีแนวทางปฏิบัติ ดังนี้ 1. การเป็นสมาชิกที่ดีขอบครอบครัว
2. การเป็นสมาชิกที่ดีของโรงเรียน
3. การเป็นสมาชิกที่ดีของชุมชน - คุณธรรมของการเป็นพลเมืองดี 1. การเห็นแก่ประโยชน์ส่วนรวม
2. การมีระเบียบวินัยและรับผิดชอบต่อหน้าที่
3. รับฟังความคิดเป็นขอบกันและกันและเคารพในมติของเสียงส่วนมาก
4. ความซื่อสัตย์สุจริต
5. ความสามัคคี
6. ความละอายและเกรงกลัวในการกระทำชั่ว
7. ความกล้าหาญและเชื่อมั่นในตนเอง
8. การส่งเสริมให้คนดีปกครองบ้านเมืองและควบคุมคนไม่ดีไม่ให้มีอำนาจ
คุณธรรม จริยธรรม หมายถึง ความดีที่ควรประพฤติ กิริยาที่ควรประพฤติ คุณธรรม จริยธรรมที่ส่งเสริมความเป็นพลเมืองดี ได้แก่
1. ความจงรักภักดีต่อชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ หมายถึง การตระหนักในความสำคัญของความเป็นชาติไทย การยึดมั่นในหลักศีลธรรมของศาสนา และการจงรักภักดีต่อพระมหากษัตริย์
2. ความมีระเบียบวินัย หมายถึง การยึดมั่นในการอยู่ร่วมกันโดยยึดระเบียบวินัย เพื่อความเป็นระเบียบเรียบร้อยในสังคม
3. ความกล้าทางจริยธรรม หมายถึง ความกล้าหาญในทางที่ถูกที่ควร
4. ความรับผิดชอบ หมายถึง การยอมเสียผลประโยชน์ส่วนตนเพื่อผู้อื่น หรือสังคมโดยรวมได้รับประโยชน์จากการกระทำของตน
5. การเสียสละ หมายถึง การยอมเสียผลประโยชน์ส่วนตนเพื่อผู้อื่น หรือสังคมโดยรวมได้รับประโยชน์จากการกระทำของตน
6. การตรงต่อเวลา หมายถึง การทำงานตรงตามเวลาที่ได้รับมอบหมาย
การส่งเสริมให้ผู้อื่นปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี
การที่บุคคลปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีในวิถีประชาธิปไตยแล้ว ควรสนับสนุนส่งเสริมให้บุคคลอื่นปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีในวิถีประชาธิปไตยด้วย โดยมีแนวทางการปฏิบัติดังนี้
1. การปฏิบัติตนให้เป็นพลเมืองดีในวิถีประชาธิปไตย โดยยึดมั่นในคุณธรรมจริยธรรมมของศาสนา และหลักการของประชาธิปไตยมาใช้ในวิถีการดำรงชีวิตประจำวันเพื่อเป็นแบบอย่างที่ดีแก่คนรอบข้าง
2. เผยแพร่ อบรม หรือสั่งสอนบุคคลในครอบครัว เพื่อนบ้านคนในสังคมให้ใช้หลักการทางประชาธิปไตยเป็นพื้นฐานในการดำรงชีวิตประจำวัน
3. สนับสนุนชุมชนในเรื่องที่เกี่ยวกับการปฏิบัติตนให้ถูกต้องตามกฎหมาย โดยการบอกเล่า เขียนบทความเผยแพร่ผ่านสื่อมวลชน
4. ชักชวน หรือสนับสนุนคนดีมีความสามารถในการมีส่วนร่วมกับกิจกรรมทางการเมืองหรือกิจกรรมสาธารณประโยชน์ของชุมชน
5. เป็นหูเป็นตาให้กับรัฐหรือหน่วยงานของานรัฐในการสนับสนุนคนดี และกำจัดคนที่เป็นภัยกับสังคม การสนับสนุนให้ผู้อื่นปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดีในวิถีประชาธิปไตย ควรเป็นจิตสำนึกที่บุคคลพึงปฏิบัติเพื่อให้เกิดประชาธิปไตยอย่างแท้จริง
ขอบคุณที่มาข้อมูลจาก http://www.thaistudyfocus.com
หน้าที่พลเมือง
บทที่ 1 หน้าที่พลเมืองและวัฒนธรรมไทย
สังคมประชาธิปไตยเป็นสังคมที่ยึดหลักความเท่าเทียมกันของบุคคลในสังคม ทั้งนี้ผู้ที่อาศัยอยู่ในสังคมประชาธิปไตยหรือพลเมืองในสังคมประชาธิปไตยจึงควรมีการปฏิบัติตนที่สอดคล้องและสัมพันธ์กับการปกครองในระบอบประชาธิปไตย
สาระการเรียนรู้ 1. พลเมืองดีตามวิถีประชาธิปไตยในสังคมไทย 1.1 หน้าที่ของพลเมืองดี 1.2 การปฏิบัติตนเป็นพลเมืองดี 2. สถานภาพ บทบาท สิทธิ เสรีภาพ หน้าที่ และการปฏิบัติตนตามรัฐธรรมนูญ 2.1 หน้าที่ของพลเมืองดีตามรัฐธรรมนูญ |
สมัครสมาชิก:
บทความ (Atom)